ในปัจจุบันด้วยสภาพสังคมเมืองไทย ที่เป็นสังคมของผู้สูงอายุอย่างเต็มที่แล้วนะครับ ด้วยเหตุที่ว่า ในปัจจุบัน โลกเรานั้น มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พวกเราสามารถเข้าถึงได้ มีการดูแลรักษาที่ทันสมัย มียาชั้นดี แล้วคนในหลายกลุ่มก็สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนเรามีอายุการใช้ชีวิตที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุในสังคมไทยเราจึงมีมากขึ้น อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้คนในครอบครัวกันไปนานๆ ไปยาว เลยนะครับ อันนี้ก็ถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งของสถาบันครอบครัวกันเลย แต่ในเมื่อผู้สูงอายุท่านอยู่กับเราแล้วนะครับ เมื่อวันเวลาผ่านไป ร่างกายโรยรา เราก็ต้องเริ่มดูแลกันมาขึ้น บางอย่างมีความจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบพิเศษ ที่ต้องนำเข้ามาใช้ในบ้านเรือนนั้น ก็เนื่องมาจากว่า ให้ทุกท่านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขนั่นเอง ไม่เป็นการทุกทรมานทั้งกายและใจ โดยในวันนี้นะครับ สิ่งหนึ่งที่เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของโรคที่เป็นในผู้สูงอายุ นั่นคือ การเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั่นเอง ซึ่งเราดูแลแล้ว สิ่งไหนบ้างที่เราห้ามลืมคำนึงถึงเลย วันนี้เราลองมาดูกันครับ
1. แผลกดทับ โดยสาเหตุของแผลกดทับมักจะมาจากการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ ทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ ขาดเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณผิวหนัง จึงทำให้เกิดแผลที่ผิว ในระยะแรกอาจมีแค่อาการลอกที่ผิวอย่างเดียว แต่หากปล่อยไว้ก็อาจลอกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูกได้ และเมื่อไม่มีผิวปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อก็จะมากขึ้นไปด้วย โดยผู้ดูแลจะต้องมาจับพลิก จับตะแคงผู้ป่วยบ่อยๆ หรือถ้าใครพอมีกำลังทรัพย์ ก็สามารถเลือกใช้ เตียงผู้ป่วย หรือ เตียงคนไข้ที่มีฟังก์ชั่นช่วยเหลือเหล่านี้ได้เลยนะครับ เพื่อความสะดวก
2. ความสะอาด การรักษาความสะอาดเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในร่ายกาย เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ผู้แลจึงควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำ อย่างน้อยทุก 2-4 สัปดาห์ และทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจในความสะอาด และหากพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะสีขุ่น หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออก ควรรีบพาไปส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
3. การรับประทานอาหาร สิ่งที่พบบ่อยก็คือ “ภาวะกลืนลำบาก” ที่เสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อเนื่องจากมีเศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้เลย ดังนั้น จึงไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอาหารในท่านอน ผู้ดูแลควรจัดให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงระหว่างรับประทานอาหาร และเมื่อทานเสร็จแล้วก็ควรปล่อยให้นั่งตรงต่อไปก่อนสักพักเพื่อรออาหารย่อย
4. สุขภาพจิตของผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยติดเตียงมักมีเหมือน ๆ กันก็คือ “ความเบื่อหน่ายและความทุกข์ใจ” ที่ไม่สามารถช่วยเหลือหรือทำอะไรเองได้เหมือนเดิม ดังนั้น ผู้ดูแลจึงควรหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อช่วยลดความเครียดและความเบื่อหน่ายของผู้ป่วย
5. สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเองสำคัญต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย จึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการใช้งาน โดยต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอและควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนี้ ควรจัดสถานที่ให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นด้วย
การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ไม่ใช่เรื่องยากนะครับ ใส่ใจในรายละเอียด เข้าใจท่าน พูดคุยกับท่าน เพียงเท่านี้ ทั้งตัวผู้ป่วยเอง และตัวคนดูแลจะมีความรู้สึกมีความสุข และไม่รู้สึกว่าเป็นภาระซึ่งกันและกัน ให้ท่านอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของคนในครอบครัวต่อไปครับ